รถยนต์ไฟฟ้า ยานพาหนะรูปแบบใหม่ที่เตรียมเข้ามาแทนที่รถยนต์เครื่องสันดาปหรือรถยนต์เชื้อเพลิงพลังงานน้ำมันนั้นเอง โดยภายในไม่กี่ปีข้างหน้า รถคันใหม่ที่เราซื้อก็ล้วนแล้วแต่มีรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตัวเลือกหลักทั้งสิ้น
วิธีอ่านสเปครถยนต์ไฟฟ้า
ในรถยนต์เครื่องสันดาปปัจจุบันที่เราใช้งานกันอยู่ คนส่วนใหญ่มักจะดูเรื่องของออปชั่น เครื่องยนต์ เกียร์ และราคากันเป็นหลัก ซึ่งตัวเครื่องยนต์ของรถนั้นเราก็จะดูเรื่องของแรงม้า แรงบิดกันซะมากกว่า ส่วนในรถยนต์ไฟฟ้านั้น เราก็ดูสเปคตัวรถเหมือนกับรถยนต์เครื่องสันดาปเลย แตกต่างกันตรงที่มันไม่มีเครื่องยนต์ แต่จะใช้ "มอเตอร์ไฟฟ้า" ในการสร้างกำลังขับเคลื่อน เหมือนกับ "เครื่องยนต์" และ "แบตเตอรี่" ในการเก็บพลังงานไฟฟ้า เหมือนกับ "ถังน้ำมัน" นั่นเอง
- เครื่องยนต์ = มอเตอร์ไฟฟ้า
- ถังน้ำมัน = แบตเตอรี่
จุดสำคัญที่ต้องดูในรถยนต์ไฟฟ้าหลักๆ ในยุคนี้ ที่จัดเป็นยุคเริ่มต้นของยุครถยนต์ไฟฟ้าของบ้านเรา เราจะดูเรื่องของ "ระยะทางการวิ่งต่อ 1 การชาร์จ" เป็นหลักซะมากกว่า ก่อนจะมาดูเรื่องของ "แรงม้า/แรงบิด" ของตัวมอเตอร์ซะด้วยซ้ำ และถึงจะมาเริ่มดูกันเรื่อง “อัตราบริโภคพลังงานไฟฟ้า”เพราะ ณ ขณะนี้ ถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นของรถยนต์ไฟฟ้า การจะเปลี่ยนถ่ายจากรถยนต์เครื่องสันดาปมายังรถยนต์ไฟฟ้านั้น สิ่งที่คนยังต้องการรักษาไว้นั่นคือ "ไลฟ์สไตล์การขับขี่" ที่ยังคงอยากให้ใกล้เคียงกับการใช้งานรถยนต์แบบเดิมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะทางการขับในแต่ละการเติมพลังงาน, อัตราเร่งที่อยากให้ใกล้เคียง หรือดีกว่า รวมไปถึงการเติมพลังงานที่อยากให้มีความใกล้เคียงกับการใช้รถยนต์เครื่องสันดาปแบบเดิม (รถไฟฟ้า ต้องใช้เวลาการชาร์จอย่างน้อย 30 นาที แต่รถสันดาป เติมน้ำมันไม่เกิน 5 นาที ไปได้เลย)
วิธีอ่านสเปคแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
สเปครถยนต์ไฟฟ้าที่เราควรทราบ นอกจากระยะทางต่อการวิ่ง 1 ครั้ง, อัตราเร่ง แรงม้า/แรงบิด, ออปชั่น, ราคา และอื่นๆ แล้ว สิ่งที่ควรทราบอีกนั่นคือ "รายละเอียดเกี่ยวกับสเปคของแบตเตอรี่" ว่าเป็นแบบไหนครับ ซึ่งทางค่ายรถก็มักจะแนบมาให้อยู่แล้ว แต่เราก็อาจจะงงๆ ว่ามันหมายความว่าอย่างไร วันนี้เรามาดูกันครับ
ตัวอย่างสเปคแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า
สเปคแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
Wh = วัตต์ต่อชั่วโมง ใช้ในการวัดปริมาณแบตเตอรี่
kWh = กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้ในการวัดปริมาณแบตเตอรี่ ทำหน้าที่เหมือนกับหน่วยลิตร ที่ใช้วัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
V = Volt = แรงดันไฟฟ้า ยิ่งโวลต์สูง แรงดันไฟฟ้ายิ่งเยอะ = ไฟยิ่งแรง
kW = กำลังไฟฟ้า ยิ่งจำนวนตัวเลขสูง ยิ่งจ่ายไฟ/รับไฟ ได้มาก
ไฟฟ้า 1 หน่วย = 1 kWh
พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่แบตเตอรี่กักเก็บไว้ได้ หน่วยเป็น kWh เปรียบเสมือนหน่วย "ลิตร" ของความจุถังน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์นั่นเอง ส่วนแรงดันไฟฟ้า (หน่วย V หรือ Volt) คือแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ตัวรถ มีผลต่อเรื่องการชาร์จเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งแบตที่มีแรงดันไฟฟ้าสูง (Volt เยอะ) ก็จะยิ่งรับกำลังการชาร์จไฟฟ้าด้วยระบบ DC Fast charge ได้มากยิ่งขึ้น ส่วนการ
"รองรับการชาร์จ" ที่มีกำกับด้วยหน่วย kW หมายถึง "กำลังในการชาร์จไฟฟ้า" หน่วย kW หรือพูดแบบให้เห็นภาพก็เหมือนท่อน้ำนั่นเองครับ ยิ่ง kW เยอะ ก็ยิ่งจ่ายไฟได้เยอะ เหมือนท่อน้ำที่มีขนาดใหญ่นั่นเอง
6.6 kW = ท่อเล็ก
150 kW = ท่อใหญ่
ทั้งนี้ รถคันนั้นๆ จะจ่ายไฟได้เต็ม kW ด้วยหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับค่า V หรือแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ในตัวรถอีกทีด้วย
และก็ขึ้นอยู่กับสเปคของตู้ชาร์จไฟฟ้าด้วยว่าจ่ายไฟได้แรงมากแค่ไหน ถ้าตู้จ่ายไฟได้แรงมาก แต่รถรับได้น้อย เราก็จะรับได้แค่จุดสูงสุดของที่รถรับได้
กลับกัน แม้ว่ารถเราจะรับไฟได้มาก แต่ถ้าตู้จ่ายได้น้อย ก็จะได้รับไฟฟ้าแค่ความแรงสูงสุดที่ตู้ทำได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :https://www.autospinn.com/2022/01/car-how-to-read-spec-electric-car-2022-86360
☎สนใจเช่ารถ 🔽 ติดต่อเช่ารถกับเราได้ที่
คลื๊ก 👉https://linktr.ee/mgevcarrental
หรือ www.evdrivehub.com
📱 062-351 9718 (คุณเดือน สาขาหาดใหญ่-ภูเก็ต )
📱 098-915 9498 (เจ้าหน้าที่ Admin ทุกสาขา )