เคล็ดลับและวิธีใช้งาน


องค์ประกอบติดตั้ง

Set up a car charging point

ชาร์จรถไฟฟ้า Ev ที่บ้าน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
 “5 ขั้นตอนการติดตั้งระบบชาร์จรถไฟฟ้า EV”
 

         1. ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
ปกติขนาดมิเตอร์ของบ้านพักอาศัยทั่วไปจะใช้เป็น 15(45) 1 เฟส(1P) หมายถึงมิเตอร์ ขนาด 15 แอมป์(A) และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45(A) สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน ต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป

        2. สายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)
สายเมนของเดิมใช้ขนาด 16 ตร.มม. ต้องปรับให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. และเปลี่ยนลูกเซอร์กิต (MCB) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB ที่เดิมรองรับได้สูงสุด 45(A) เปลี่ยนเป็น 100(A) เพื่อให้ขนาดมิเตอร์ ขนาดสายเมน และขนาดลูกเซอร์กิต (MCB) มีความสอดคล้องกัน

        3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)
ติดตั้ง Circuit Breaker อีก 1  เพราะการชาร์จไฟของรถไฟฟ้า EV จะต้องมีส่วนตัว และแยกใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอื่น ๆ

       4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)
ติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้ได้ในอนาคต

       5. เต้ารับ (EV Socket)
สำหรับการเสียบชาร์จรถไฟฟ้าจะเป็นชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) ต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A) โดยรูปทรงอาจจะปรับตามรูปแบบปลั๊กของรถไฟฟ้า EV แต่ละรุ่น


TAG

16 ส.ค. 2023 0